รายงานผลการยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพรองรับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยใช้ หลักการมีส่วนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
ผลงาน รายงานผลการยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพรองรับสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยใช้
หลักการมีส่วนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา
เขต 1
ผู้รายงาน นายสวัสดิ์ แสงขัน
สถานที่ทำงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1) เพื่อรายงานผลการยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)
โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 2) เพื่อรายงานผลลัพธ์การยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 เป้าหมายการพัฒนา คือ 1) เป้าหมายเชิงปริมาณ ได้แก่ 1.1) โรงเรียนในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 73 โรงเรียน 1.2) นักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 8,757 คน 1.3) ครูในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 688 คน 2) เป้าหมายเชิงคุณภาพ ได้แก่
2.1) ผลการยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ดังนี้ 2.1.1) โรงเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์การประเมินสถานศึกษา ก่อนเปิดภาคเรียน
ปีการศึกษา 2564 ในการเตรียมความพร้อมเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามแบบประเมินของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในระดับสีเขียว
2.1.2) โรงเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามองค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ ตามแบบประเมินของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2.2) ผลลัพธ์ของการยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยใช้หลักการ
มีส่วนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 มีผลลัพธ์ดังนี้ 2.2.1) นักเรียน
ร้อยละ 80 ไม่ติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) 2.2.2) ครูร้อยละ 80 ไม่ติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) 2.2.3) โรงเรียนร้อยละ 80 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
แบบ Onsite เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ 1) แบบประเมินตนเองของสถานศึกษาในการเตรียม
ความพร้อมเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)
ตามแบบประเมินของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2) แบบประเมินผลการยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
ตามแบบประเมินของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย
ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า
- ผลการประเมินสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2564 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โรงเรียนจำนวน 73 โรงเรียน สามารถเปิดเรียนได้ตามปกติ ร้อยละ 100
- ผลการประเมินการยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ตามแบบประเมินของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนจำนวน 73 โรงเรียน มีผลการประเมินระดับทองขึ้นไป แสดงว่าโรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินตามองค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ ตามแบบประเมินของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 100
- ผลการสำรวจนักเรียนติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โรงเรียนจำนวน
73 โรงเรียน มีนักเรียนจำนวน 8,757 คน นักเรียนที่ไม่ติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด 19) คิดเป็นร้อยละ 99.95
- 4. ผลการสำรวจครูติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โรงเรียนจำนวน
73 โรงเรียน มีครูจำนวน 688 คน ครูที่ไม่ติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) คิดเป็น
ร้อยละ 99.71
- ผลการสำรวจโรงเรียนที่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Onsite โดยรวม โรงเรียนจำนวน 73 โรงเรียน โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Onsite
ได้ร้อยละ 100