ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ชื่อเรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
ชื่อผู้วิจัย คณะผู้วิจัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
กรรมการที่ปรึกษา นายสวัสดิ์ แสงขัน
นายณัฐพล สุวรรณลพ
นายธงชัย จันแย้
นายธนายุทธ คำภีระ
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนลักษณะต่าง ๆ ด้านข้อดี ข้อเสีย โอกาส อุปสรรค (SWOT) ในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) พัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกลักษณะในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนด การดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ SWOT ระยะที่ 2 ประชุมระดมความคิด และ ระยะที่ 3 การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มเป้าหมายระยะที่ 1 ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 73 โรงเรียน โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา และครูของแต่ละโรงเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 2 ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 8 คน และกลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 3 ประกอบด้วย ผู้บริหารเขตพื้นที่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดทำแผนและนโยบาย ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 1 ประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา แบบสัมภาษณ์เชิงลึกครูผู้สอน และแบบวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 2 ประกอบด้วย ประเด็นประชุมระดมความคิดการบริหารจัดการโรงเรียน การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และแบบวิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกลักษณะในการบริหารจัดการโรงเรียน การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และประเภทของโรงเรียน 3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 3 ประกอบด้วย ประเด็นการสัมมนาจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และแบบวิเคราะห์ ผลการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนลักษณะต่าง ๆ ด้านข้อดี ข้อเสีย โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 มีโรงเรียนในสังกัดที่จัดการเรียนการสอน จำนวน 73 โรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 51 โรงเรียน แยกเป็นโรงเรียน Stand Alone จำนวน 1 โรงเรียน จัดการเรียนการสอนทั้งในรูปแบบ On–Hand, On–Line, On–Demand, On–Site และ On–Air แล้วแต่บริบทการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 21 โรงเรียน แยกเป็นโรงเรียนคุณภาพระดับประถม จำนวน 1 โรงเรียน จัดการเรียนการสอนทั้งในรูปแบบ On–Hand, On–Line, On–Demand, On–Site และ On–Air โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 1 โรงเรียน จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On–Site โดยการสลับเลขที่มาเรียนในช่วงที่มีผู้ป่วยในจังหวัดเป็นศูนย์ และจัดการเรียนการสอน On–Line, On–Hand และ On–Demand
ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ด้านการบริหารจัดการ การพัฒนา การบริหารจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสู่มาตรฐานอย่างยั่งยืนในช่วงสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยดำเนินการพัฒนา อาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เป็นสถานศึกษาปลอดภัย สามารถจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การพัฒนาห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนมาตรฐานสามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การบริหารจัดการอัตรากำลังให้เหมาะสม และเพียงพอต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด การพัฒนา ระบบ ICT, DLTV, DLIT Internet ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมใช้งาน การบริหารจัดการงบประมาณของโรงเรียนให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ด้านการจัดการเรียนรู้ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในด้านการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การพัฒนานักเรียนให้สามารถเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างความตระหนักในการเตรียมความพร้อม ด้านการเรียนและการดูแลสุขภาพของนักเรียนในช่วงสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยดำเนินการ จัดหาวัสดุอุปกรณ์การเรียนให้กับนักเรียน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อที่มีการแพร่ระบาดในช่วงสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน และสร้างความตระหนักการรักษาสุขอนามัยในช่วงสถานการณ์พิเศษหรือสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การส่งเสริมให้ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือนักเรียนในการเรียนของนักเรียน